สตีเว่น เจอร์ราร์ด "กองกลางมหัศจรรย์ของอังกฤษ"
สตีเว่น เจอร์ราร์ด มีชื่อเต็มว่า สตีเว่น จอร์จ เจอร์ราร์ด เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1980 ที่เมืองวิสตัน เมอร์ซี่ย์ไซด์ ลิเวอร์พูล เข้าสู่เส้นทางลูกหนังจากการลงเล่นให้กับโรงเรียนคาร์ดินัล ฮีแนน คาธอลิก ไฮจ์สคูล ในเวสต์ดาร์บี้ เมืองลิเวอร์พูล โดยในตอนที่อายุ 9 ขวบ เขาเป็นสมาชิกของทีม ลิเวอร์พูล วายทีเอส และก็เล่นได้ดี จนเกือบจะก้าวไปติดทีมชาติอังกฤษชุดเยาวชนเจอร์ราร์ด
มีนิคเนมว่า "สตีวี่จี" เป็นกองกลางพลังไดนาโม โดยเริ่มแจ้งเกิดมาในตำแหน่งปีกขวา นอกจากนั้นยังสามารถเล่นเป็นแบ๊กขวาได้อีกด้วย และยังขยับมาเล่นเป็นกองกลางตัวรับ ได้อีกด้วย แต่ด้วยการที่เป็นนักเตะที่มีความสามารถทั้งการช่วยเกมรับ และการเติมเกมรุก แถมยังยิงไกลได้แม่นยำ ทำให้ เจอร์ราร์ด ค่อยๆเปลี่ยนบทบาทของตัวเองมาเป็นกองกลางเชิงรุกไปแล้วเจ้าของหมายเลข 8 ของทีมลิเวอร์พูล เป็นแฟนบอลของลิเวอร์พูล มาตั้งแต่ในวัยเด็ก จนในที่สุดเขาก็ได้เป็นกัปตันทีมโปรดของเขาสมใจนึก มาตั้งแต่ฤดูกาล 2003/2004 และเป็นนักเตะที่คอยกระตุ้นเพื่อนร่วมทีมได้เสมอ ทั้งการทำงานหนักในสนาม และการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่วมทีม โดยในฤดูกาล 2003/2004 เจอร์ราร์ด ที่ต้องคอยไล่ตัดเกมรุกของคู่ต่อสู้ด้วยนั้น โดนใบเหลืองไปแค่ 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้เล่นที่เล่นบอลอย่างขาวสะอาดมากคนหนึ่ง
สตีวี่จี เป็นที่นักเตะที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเตะที่ดีที่สุดของ ลิเวอร์พูล ในตอนนี้ หลังจากที่มาเข้าร่วมชายคาของสโมสรแห่งนี้ ตั้งแต่ปี 1989 และค่อยๆพัฒนาฝีเท้าขึ้นมาเรื่อยๆในโรงเรียนนักเตะของ "หงส์แดง" ที่สร้างนักเตะอย่าง สตีฟ แม็คมานามาน และ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ มาโด่งดังไปแล้ว ก่อนจะปั้น ไมเคิ่ล โอเว่น และ เจอร์ราร์ด ขึ้นมาโด่งดังเป็นรุ่นต่อมา
วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) Linda Herndon : Herndon : Computer Ethics, Netiquette, and Other Concerns http://www.benedictiine.edu/ethics.html ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)